CSR (Corporate Social Responsibility) หรือ ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร เป็นแนวทางธุรกิจที่บริษัทปฏิบัติตามเพื่อสร้างผลลัพธ์ทางสังคม (Social Impact) วัตถุประสงค์หลักของบริษัท คือ การเพิ่มภาพลักษณ์ของบริษัท สร้างความภักดีของลูกค้า และสร้างยอดขายมากขึ้น นอกจากนี้ ยังเป็นประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรมีสี่ประเภทหลักๆได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านจริยธรรม ด้านการกุศล และด้านเศรษฐกิจ ในปัจจุบันนี้การทำ CSR จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากผู้บริโภคทราบถึงผลกระทบด้านลบต่างๆที่เกิดจากการทำกิจการของบริษัทเพื่อให้เกิดผลผลิต ดังนั้นหลายๆบริษัทจึงมีการจัดทำ CSR เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่องค์กร
ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร หรือ CSR มี 4 ประเภท หลักๆ ที่สำคัญ ดังนี้
1 ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม เป็นหนึ่งในเสาหลักด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ (ESG) ที่มุ่งเน้นไปที่การลดผลกระทบด้านลบจากการดำเนินงานของบริษัท ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงมาตรการต่างๆ เช่น การลดการปล่อยคาร์บอน การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การลดของเสีย และการใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียน ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมจึงมีความสำคัญมากขึ้น เนื่องจากลูกค้าและผู้มีส่วนได้เสียต้องการแนวทางปฏิบัติทางธุรกิจที่ยั่งยืน
ตัวอย่างงาน CSR ที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม อาจจะเป็นในรูปแบบของการพานักเรียนหรือนักศึกษา ไปร่วมกันปลูกป่า เพื่อลดภาวะโลกร้อน เป็นต้น
2 ความรับผิดชอบทางเศรษฐกิจ
ความรับผิดชอบทางเศรษฐกิจ หมายถึง ภาระผูกพันของบริษัทในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนทางการเงิน เพื่อให้บริษัทสามารถอยู่รอด และจ่ายค่าใช้จ่ายของบริษัทได้ เช่น ค่าแรงของพนักงาน เพราะถ้าหากว่าบริษัทอยู่ได้และมีกำไร ก็จะสามารถเกิดการจ้างงานในระยาว และยังมีส่วนช่วยให้เกิดความเป็นอยู่ที่ดีทางเศรษฐกิจของชุมชนที่บริษัทดำเนินธุรกิจอยู่อีกด้วย
3 ความรับผิดชอบด้านการกุศล
ความรับผิดชอบด้านการกุศล หมายถึง หน้าที่ของบริษัทในการตอบแทนชุมชนผ่านการบริจาคเงิน หรือสิ่งของต่างๆ เพื่อการกุศลรวมไปถึงงานอาสาสมัครและการมีส่วนร่วมในชุมชนนั้นๆ ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ตัวอย่างงาน CSR ความรับผิดชอบด้านการกุศล เช่น การบริจาคกล่องปันสุขให้กับวัด ชุมชน ในพื้นที่ที่บริษัทนั้นๆ ดำเนินกิจการอยู่
4 ความรับผิดชอบทางจริยธรรม
ความรับผิดชอบทางจริยธรรม หมายถึง การที่บริษัทดำเนินกิจการด้วยความซื่อสัตย์ มีความโปร่งใส และมีค่านิยม ซึ่งต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับ และดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับมาตรฐานทางจริยธรรมด้วย
หากว่าคุณกำลังมองหาบริษัทที่รับทำ CSR ที่มีไอเดียแปลกใหม่ไม่เหมือนใคร โดยเฉพาะถ้ากลุ่มเป้าหมายของคุณ คือ กลุ่มโรงเรียนต่างๆ ในประเทศไทย เรายินดีให้คำปรึกษาฟรี!! เพราะเราเป็นพันธมิตรกับโรงเรียนต่างๆ มากกว่า 50 โรงเรียนทั่วประเทศ
Ref : www.onboardmeetings.com , www.wallstreetmojo.com
Follow Us
Facebook : Tony Cooperate
IG : Tony Cooperate